ธุรกิจ ก็เหมือน คน ที่มักชอบทำตัวเฉื่อย ดังนั้นต้องมีกฎระเบียบในการจัดการความเฉื่อย: The Daily Drucker EP.4 ความเฉื่อยขององค์กร (Organizational Inertia) .
28 พ.ย. 2563 08:18 น. เข้าชม 737 Entrepreneurship
ในทุกธุรกิจ มีกิจกรรมอะไร ต่างๆ มากมาย ทั้งกิจกรรมใหม่ๆ และ กิจกรรมเก่าๆ...
กิจกรรมเหล่านี้ จะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป...โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องปรับให้ทันกับ “พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย”
ยิ่งในปัจจุบัน และอนาคต พฤติกรรมลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว เนื่องจากความปรู๊ดปร้าดของความล้ำเลิศของเทคโลยีดิจิทัล...ที่มีอะไรใหม่ๆ ออกมาแทบเป็นรายวัน รายเดือน จนตามกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว
หากไม่สามารถปรับตัว ให้เท่าทัน กับ การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ความซวยอันมาเยือนก็เป็นได้
ธุรกิจ หรือ แม้กระทั่งองค์กร ส่วนใหญ่ มักจะปรับตนเองไม่ค่อยทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้...
สาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ก็คือ ความเฉี่อย
หรือ ที่ Peter Drucker ขนานนามให้มันว่า “ความเฉื่อยขององค์กร” หรือ “Organizational Inertia”
คนเราส่วนใหญ่ มักจะยึดติดกับความเคยชิน ยึดติดกับสิ่งที่เคยทำมาในอดีต พูดง่ายๆ คนเราไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง
สิ่งใดที่ทำมานาน และประสบผลสำเร็จ เป็นอย่างดี แต่จู่ๆ อยู่มาวันหนี่ง มันดันไม่ Work แต่คนที่รับผิดชอบกิจกรรมเหล่านี้ ก็ยังทำแบบเดิมๆ แถมยังพยายามเป็น สองเท่า เนื่องจากไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่ตนเองเคยทำมาในอดีต
ด้วยสาเหตุนี้ เอง จึงต้องมีกฎเกณฑ์ หรือ มาตรฐานของธุรกิจ ที่ต้องให้ธุรกิจ (คนในธุรกิจนั้นๆ นั่นเอง) ต้องปรับตัว หรือ เปลี่ยนแปลงตนเอง ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
หรือพูดง่ายๆ ต้องมีกฏเกณฑ์ หรือ กฎระเบียบ หรือ มาตรฐาน ที่จะช่วยจัดการความเฉื่อยขององค์กร นั่นเอง
การกำหนดตัวชี้วัดต่างๆ ก็เป็นอีกมาตรฐานหนึ่ง ที่จะช่วยขจัดความเฉื่อย และเพิ่มความท้าทายให้องค์กร
หากธุรกิจ หรือ องค์กร ใด สามารถจัดการกับความเฉื่อยในธุรกิจ หรือ องค์กรนั้นได้ดี...ธุรกิจ หรือ องค์กรเหล่านี้ ก็จะอยู่รอดได้ในระยะยาว เพราะมีความสามารถในการปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไป
#StrategicMan #ความสำเร็จ #Drucker #strategy #Strategic
#การบริหารจัดการ #Management
#สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ #การเปลี่ยนแปลง #ความเฉื่อยขององค์กร #Inertia
กิจกรรมเหล่านี้ จะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป...โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องปรับให้ทันกับ “พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย”
ยิ่งในปัจจุบัน และอนาคต พฤติกรรมลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว เนื่องจากความปรู๊ดปร้าดของความล้ำเลิศของเทคโลยีดิจิทัล...ที่มีอะไรใหม่ๆ ออกมาแทบเป็นรายวัน รายเดือน จนตามกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว
หากไม่สามารถปรับตัว ให้เท่าทัน กับ การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ความซวยอันมาเยือนก็เป็นได้
ธุรกิจ หรือ แม้กระทั่งองค์กร ส่วนใหญ่ มักจะปรับตนเองไม่ค่อยทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้...
สาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ก็คือ ความเฉี่อย
หรือ ที่ Peter Drucker ขนานนามให้มันว่า “ความเฉื่อยขององค์กร” หรือ “Organizational Inertia”
คนเราส่วนใหญ่ มักจะยึดติดกับความเคยชิน ยึดติดกับสิ่งที่เคยทำมาในอดีต พูดง่ายๆ คนเราไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง
สิ่งใดที่ทำมานาน และประสบผลสำเร็จ เป็นอย่างดี แต่จู่ๆ อยู่มาวันหนี่ง มันดันไม่ Work แต่คนที่รับผิดชอบกิจกรรมเหล่านี้ ก็ยังทำแบบเดิมๆ แถมยังพยายามเป็น สองเท่า เนื่องจากไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่ตนเองเคยทำมาในอดีต
ด้วยสาเหตุนี้ เอง จึงต้องมีกฎเกณฑ์ หรือ มาตรฐานของธุรกิจ ที่ต้องให้ธุรกิจ (คนในธุรกิจนั้นๆ นั่นเอง) ต้องปรับตัว หรือ เปลี่ยนแปลงตนเอง ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
หรือพูดง่ายๆ ต้องมีกฏเกณฑ์ หรือ กฎระเบียบ หรือ มาตรฐาน ที่จะช่วยจัดการความเฉื่อยขององค์กร นั่นเอง
การกำหนดตัวชี้วัดต่างๆ ก็เป็นอีกมาตรฐานหนึ่ง ที่จะช่วยขจัดความเฉื่อย และเพิ่มความท้าทายให้องค์กร
หากธุรกิจ หรือ องค์กร ใด สามารถจัดการกับความเฉื่อยในธุรกิจ หรือ องค์กรนั้นได้ดี...ธุรกิจ หรือ องค์กรเหล่านี้ ก็จะอยู่รอดได้ในระยะยาว เพราะมีความสามารถในการปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลงไป
#StrategicMan #ความสำเร็จ #Drucker #strategy #Strategic
#การบริหารจัดการ #Management
#สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ #การเปลี่ยนแปลง #ความเฉื่อยขององค์กร #Inertia
Comment